Powered By Blogger

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย
        คือ เครื่องดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย
       

            “เครื่องดนตรีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง
            เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และเป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ ศิลปวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริมและรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป


           แบ่งได้ 4 ประเภท
1.เครื่องดีด      2.เครื่องสี      3.เครื่องตี        4.เครื่องเป่า

     1. เครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น  ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด คือ กระจับปี่ พิณและจะเข้


กระจับปี่
            เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้งมีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน


                    


พิณ

     สมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า สายพิณ สมัยโบราณ เข้าใจว่า คงใช้เชือกหรือหนัง จากนั้น เมื่อมีรถจักรยานแล้ว ก็หันมาใช้สายเบรกรถจักรยานแทน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ผลิตสายกีตาร์จำหน่าย จึงหันมาใช้สายกีตาร์โปร่งสำหรับพิณโปร่ง สายกีตาร์ไฟฟ้าสำหรับพิณไฟฟ้า 
     พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน
    พิณ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ ดีดเป็นทำนองเพลง ตัวพิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้



จระเข้

   จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีดอย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี

    2. เครื่องสี เป็น เครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย  ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี  เครื่องดนตรีประเภทนี้  ในวงการดนตรีไทย ได้แก่  1.  ซอด้วง    2.  ซออู้    3.  ซอสามสาย    4.  สะล้อ


  ซอ
       ซอ เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสายที่ขึงเอาไว้  มี 3 ประเภท
1. ซอด้วง  
2. ซออู้  
3. ซอสามสาย

1. ซอด้วง
      เป็นซอสอง สาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม. ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้
     ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง
     
      2. ซออู้
      ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึง ขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13–14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม. ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย

3. ซอสามสาย
      ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง
สะล้อ
    สะล้อ  เป็นเครื่องสีอีกอย่างหนึ่งนิยมบรรเลงเล่นกันในภาคเหนือของไทยดังมีชื่อเรียกกันว่า "วงสะล้อซอซึง" เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไปแอ่วสาว ต่อมาใช้บรรเลงรวมวงกับซึงและปี่จุม เรียกว่า"วงดนตรีพื้นเมืองเหนือ" สามารถบรรเลงเพลงสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ เช่น เพลงละม้าย  จะปุ อื่อประสาทไหว เพลงเชียงใหม่ฯเป็นต้น เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วง มีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้าน


3. เครื่องตี

     เครื่องตี เป็น เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง
    ประกอบด้วย
1. เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
2. เครื่องตีที่ทำด้วยหนัง
3. เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

ตัวอย่าง เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
ระนาดเอก
            ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว
นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะ
ร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและ
ท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่
พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียง
นุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"


ตัวอย่าง เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
      1. ฆ้องมอญ    2. ฆ้องวงใหญ่    3. ฆ้องวงเล็ก

   ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องไทย มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก ใช้บรรเลงใน วงปีพาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม

   ฆ้องวงใหญ่ มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน

   ฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ มีหน้าที่เก็บ สอด แทรก ฯลฯ

4. เครื่องเป่า
          เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก
เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้
 ข้อมูลโดยทั่วไป
ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัว
ลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm. กว้าง 2-2.5 cm. ลักษณะตรง
ส่วนต่างๆ ของขลุ่ย
       - ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น
        - ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง
        - รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง
        - รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย
        - รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้
        - รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
        - รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย
        - ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยหลิบ ไล่ไปตั้งแต่ ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก) มี(สูงมาก) ฟา(สูงมาก) ซอล(สูงมาก)( ตัวย่อ - ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2 มํ2 ฟํ2 ซํ2)


ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน

       ขลุ่ยกรวดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออเล็กน้อย  ยาวประมาณ 40 ซม.  กว้าง 2.2  ซ.ม. มีระดับเท่ากับเสียงสากล


        
ปี่นอก  เป็นปี่ที่มีเสียงสูงสุดในบรรดาเครื่องเป่าตระกูลปี่ใน ลักษณะมีขนาดเล็กและเสียงแหลม มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร มึความกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีลักษณะบานหัวบานท้ายเช่นเดียวกับปี่ใน บริเวณเลาปี่ที่ป่องเจาะรู 6 รู ปี่นอกใช้เล่นในวงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์ชาตรี


วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทย
วงดนตรีไทยที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน
แบ่งโดยสังเขปมีอยู่  3 ประเภท
1.วงปี่พาทย์
2.วงเครื่องสาย
3.วงมโหรี


1. วงปี่พาทย์   หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


มีหลายรูปแบบดังนี้
1. วงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง


2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไปเช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้


2.1 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด
2.2 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง
2.3 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)
4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

5.
วงปี่พาทย์มอญ เดิมเป็นของมอญ ใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.
5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง
5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ

5.3
วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ
6. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง


2. วงเครื่องสาย
วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้
1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง

2. วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง
3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม
4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา


3. วงมโหรี
วงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้
1.วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง
2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง
3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง





วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

คีตกวี(ไทย)

           คีตกวี
 คีตกวี คือ ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

           ตัวอย่าง คีตกวีไทย

พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)


คีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพะเราะ"
บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ



หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"
นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง
ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว


ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่
- ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
- ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
- พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
- คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
- นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
- สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
- ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย


ครูช้อย  สุนทรวาทิน

 ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.2440 - 2443 ครูเลื่อน สุนทรวาทิน เล่าว่าคุณปู่ช้อยของท่านแก่กว่า คุณย่าไผ่สิบกว่าปี พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) บิดาท่านเป็นลูกชายคนโตของครูช้อย เกิด พ.ศ. 2409 ถ้าขณะ นั้นคุณย่าไผ่อายุ 19 - 20 คุณย่าไผ่ ก็ต้องเกิดปี พ.ศ.2389 ถึง พ.ศ.2390 ครูช้อยจึงน่าจะเกิดช่วงปี พ.ศ.2370 - 2380
ปีเกิด และปีตายของครูช้อยนั้นพอจะอนุมานได้ว่าน่าจะเกิดช่วง พ.ศ. 
ส่วน ปีตายนั้น หลวงบรรเลงเลิศเลอ (เกิด พ.ศ. 2422) เล่าว่า เมื่อ ท่านอายุราว 11 - 12 ปีได้ไปเป็นศิษย์ครูช้อยที่วัดน้อยทองอยู่ได้ทำหน้าที่จูงครูช้อยไปสอนดนตรี ตามวงต่างๆและวังเจ้านายอยู่ 5 ปี จึงพ้นจากหน้าที่นี้ ซึ่งน่าจะประมาณปี พ.ศ. 2438 - 2439 ครูช้อยยังมีชีวิตอยู่ต่อมาแต่น่าจะถึงแก่กรรมก่อนปี พ.ศ. 2443 - 2445 ซึ่งเป็นช่วงที่ครูหลวงประดิษฐไพ เราะ (ศร ศิลปบรรเลง)ได้เป็น จางวางศร และได้ ประชันระนาดครั้งสำคัญกับพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนท รวาทิน) ถ้าครูช้อยยังมีชีวิต อยู่พระยาประสานดุริยศัพท์ (ครูแปลก)น่าจะเกรงใจครูช้อยและไม่ยอมมาสอน จา งวางศร และ ครูเพชร จรรย์นาฏ คงไม่กล้ามาเป็นคนฆ้องให้กับวงดนตรีของจางวางศรด้วยเช่นกัน ครูช้อยจึงน่าจะถึง แก่กรรมก่อนปี พ.ศ. 2445 และมีอายุในราว 70 ปี
        ครูช้อย สุนทรวาทิน เป็นอัจฉริยะทางดนตรีไทย ผู้เปี่ยมทั้ง ฝีมือ และวิชาความ รู้ แต่งเพลงอมตะไว้หลายเพลงเช่น โหมโรงครอบจักรวาล แขกลพบุรี 3 ชั้น แขกโอด 3 ชั้น ใบ้คลั่ง 3 ชั้น เขมรปี่แก้ว 3 ชั้น เขมรโพธิสัตว์ 3 ชั้น อกทะเล 3 ชั้น ด้านฝีมือมีชื่อเสียงทั้ง ปี่ ระนาด และ ฆ้อง นอกจากนั้นท่านยังเป็น "ยอดครูดนตรีไทย" มีลูกศิษย์มากและหลายท่านมีชื่อเสียง เยี่ยม เป็น "ครูผู้ใหญ่"ในยุคต่อมาเช่น พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระยาเสนาะ ดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูเพชร จรรย์นาฎ พระประดับดุริยกิจ (แหยม) พระพิณบรรเลงราช (แย้ม) เป็นต้น



           มนตรี ตราโมท      



        
มนตรี ตราโมท มีนามเดิมว่า บุญธรรม เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443    เริ่มเรียนดนตรีปี่พาทย์ กับครูสมบุญ นักฆ้อง ต่อมาเรียนระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ แคลริเนต และหลักการแต่งเพลง กับครูสมบุญ สมสุวรรณ เรียนวิธีการแต่งเพลงกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสามศัพท์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) และครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงหลายท่าน รวมทั้งเรียนโน้ตสากลกับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) จนสามารถอ่านและเขียนได้เป็นอย่างดี 


นอกจากท่านจะมีฝีมือในการบรรเลงดนตรีแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีกด้วย ท่านแต่งเพลงมาแล้วมากมาย มากกว่า 200 เพลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา มีทั้งเพลง 3 ชั้น เพลงเถา เพลงประวัติศาสตร์ เพลงระบำและเพลงเบ็ดเตล็ด เคยมีผู้รวบรวมไว้ได้ถึง 200 กว่าเพลง นอกจากท่านจะแต่งเพลงดังกล่าวมาแล้ว ท่านยังเคยแต่งเพลงประกวดทั้งบทร้องและทำนองเพลงและได้รับรางวัล 1 เพลงนั้นชื่อว่า "เพลงวันชาติ 24 มิถุนา" เมื่อ พ.ศ. 2483
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ครูมนตรี ตราโมทเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู และครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาวิชาดนตรีไทยของกรมศิลปากร นอกจากท่านจะกระทำพิธีให้แก่กองการสังคีตและวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดแล้ว ท่านยังทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยให้แก่หน่วยราชการ สถานศึกษาและเอกชนทั่วไป
ครูมนตรีนอกจากจะมีความรู้และความสามารถในการแต่งเพลงและการบรรเลงดนตรีไทยแล้ว ท่านยังมีความรู้ทางโน้ตสากลและดนตรีสากลอีกด้วย ซึ่งยิ่งช่วยเพิ่มความรู้ทางดนตรีไทยและการแต่งเพลงมากขึ้น
ครูมนตรีรักการอ่านหนังสือทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวาง ท่านชอบโคลงมาก ท่านจึงแต่งโคลงไว้มากมาย นอกจากนี้หนังสือประเภทสารคดีที่เกี่ยวกับวิชาการทางด้านศิลปะ ท่านก็ได้แต่งไว้หลายเรื่อง อาทิเช่น "ดุริยางค์ศาสตร์ไทยภาควิชาการ" "การละเล่นของไทย" "ศัพท์สังคีต" นอกจากนี้ก็มีเรื่องสั้นๆ ที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือต่างๆ เช่น เรื่องปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา เครื่องสายไทย ดุริยเทพดนตรีกับชีวิต วงดนตรีประกอบการแสดงโขน ฯลฯ
ท่านยังได้เขียนอธิบายความหมายของคำต่างๆ ในหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานและเขียนเรื่องดนตรีไทยในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 1 ในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ หนังสือหลายเล่ม ท่านก็ได้มีส่วนเขียนเรื่องดนตรีไทย ภาพกลางลงพิมพ์ในหนังสือชุดศิลปกรรมไทย หมวด "นาฏดุริยางคศิลป์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์" ด้วย
ผลงานทางด้านข้อเขียนของครูมนตรี ที่ท่านภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อทางราชการสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วเสร็จ ได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเรียบเรียงข้อความที่จะจารึกเทิดทูนพระวีรเกียรติประวัติของพระองค์ โดยใช้ถ้อยคำแต่น้อยกินความมาก เพื่อให้พอเหมาะกับขนาดแผ่นจารึกที่ฐานพระราชานุสาวรีย์ ผลการคัดเลือกปรากฏว่า ข้อความของครูมนตรีได้รับการพิจารณาให้จารึกในแผ่นศิลาดังกล่าว
ครูมนตรี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านเคยได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการมากมายหลายคณะ   เช่น  กรรมการตัดสินเพลงชาติ   กรรมการศิลปะของสภาวัฒนธรรม   ประธานกรรมการการรับรองมาตรฐานวิทยาลัยเอกชน สาขาดุริยางคศิลปะของทบวงมหาวิทยาลัยรองประธานกรรมการตัดสิน การอ่านทำนองเสนาะ   กรรมการตัดสินคำประพันธ์เรื่องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำแบบเรียนวิชาดนตรีศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ฯลฯ