Powered By Blogger

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย
        คือ เครื่องดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย
       

            “เครื่องดนตรีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง
            เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และเป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ ศิลปวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริมและรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป


           แบ่งได้ 4 ประเภท
1.เครื่องดีด      2.เครื่องสี      3.เครื่องตี        4.เครื่องเป่า

     1. เครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น  ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด คือ กระจับปี่ พิณและจะเข้


กระจับปี่
            เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้งมีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน


                    


พิณ

     สมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า สายพิณ สมัยโบราณ เข้าใจว่า คงใช้เชือกหรือหนัง จากนั้น เมื่อมีรถจักรยานแล้ว ก็หันมาใช้สายเบรกรถจักรยานแทน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ผลิตสายกีตาร์จำหน่าย จึงหันมาใช้สายกีตาร์โปร่งสำหรับพิณโปร่ง สายกีตาร์ไฟฟ้าสำหรับพิณไฟฟ้า 
     พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน
    พิณ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ ดีดเป็นทำนองเพลง ตัวพิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้



จระเข้

   จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีดอย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี

    2. เครื่องสี เป็น เครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย  ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี  เครื่องดนตรีประเภทนี้  ในวงการดนตรีไทย ได้แก่  1.  ซอด้วง    2.  ซออู้    3.  ซอสามสาย    4.  สะล้อ


  ซอ
       ซอ เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสายที่ขึงเอาไว้  มี 3 ประเภท
1. ซอด้วง  
2. ซออู้  
3. ซอสามสาย

1. ซอด้วง
      เป็นซอสอง สาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม. ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้
     ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง
     
      2. ซออู้
      ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึง ขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13–14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม. ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย

3. ซอสามสาย
      ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง
สะล้อ
    สะล้อ  เป็นเครื่องสีอีกอย่างหนึ่งนิยมบรรเลงเล่นกันในภาคเหนือของไทยดังมีชื่อเรียกกันว่า "วงสะล้อซอซึง" เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไปแอ่วสาว ต่อมาใช้บรรเลงรวมวงกับซึงและปี่จุม เรียกว่า"วงดนตรีพื้นเมืองเหนือ" สามารถบรรเลงเพลงสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ เช่น เพลงละม้าย  จะปุ อื่อประสาทไหว เพลงเชียงใหม่ฯเป็นต้น เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วง มีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้าน


3. เครื่องตี

     เครื่องตี เป็น เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง
    ประกอบด้วย
1. เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
2. เครื่องตีที่ทำด้วยหนัง
3. เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

ตัวอย่าง เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
ระนาดเอก
            ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว
นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะ
ร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและ
ท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่
พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียง
นุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"


ตัวอย่าง เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
      1. ฆ้องมอญ    2. ฆ้องวงใหญ่    3. ฆ้องวงเล็ก

   ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องไทย มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก ใช้บรรเลงใน วงปีพาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม

   ฆ้องวงใหญ่ มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน

   ฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ มีหน้าที่เก็บ สอด แทรก ฯลฯ

4. เครื่องเป่า
          เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก
เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้
 ข้อมูลโดยทั่วไป
ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัว
ลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm. กว้าง 2-2.5 cm. ลักษณะตรง
ส่วนต่างๆ ของขลุ่ย
       - ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น
        - ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง
        - รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง
        - รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย
        - รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้
        - รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
        - รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย
        - ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยหลิบ ไล่ไปตั้งแต่ ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก) มี(สูงมาก) ฟา(สูงมาก) ซอล(สูงมาก)( ตัวย่อ - ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2 มํ2 ฟํ2 ซํ2)


ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน

       ขลุ่ยกรวดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออเล็กน้อย  ยาวประมาณ 40 ซม.  กว้าง 2.2  ซ.ม. มีระดับเท่ากับเสียงสากล


        
ปี่นอก  เป็นปี่ที่มีเสียงสูงสุดในบรรดาเครื่องเป่าตระกูลปี่ใน ลักษณะมีขนาดเล็กและเสียงแหลม มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร มึความกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีลักษณะบานหัวบานท้ายเช่นเดียวกับปี่ใน บริเวณเลาปี่ที่ป่องเจาะรู 6 รู ปี่นอกใช้เล่นในวงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์ชาตรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น